จีอายมิวสิค,เครื่องดนตรี,กีต้าร์,กลอง,เบส,เครื่องเป่า,ตู้แอมป์,เครื่องวงโย,เครื่องดนตรีสากล,กลองเดินแถว,คีย์บอร์ด,เปียโน,ไวโอลิน

บทความ

วิธีเลือกซื้อพาวเวอร์แอมป์

01-09-2555 10:26:24น.

วิธีการเลือกซื้อแอมป์

ถ้าเป็นแอมป์ที่เอาไว้ซ้อมหรือบันทึกเสียง พี่อยากแนะนำให้ใช้เป็นแอมป์หลอด ก็มีได้หลายยี่ห้อที่มีคุณภาพดีๆ อาจจะเป็นหลอดที่ปรีแอมป์อย่างเดียวก็ได้ หรือจะเป็นหลอดทั้งปรีฯและเพาเวอร์แอมป์ก็ยิ่งดี ส่วนเรื่องการเลือกซื้อนั้นก็คงต้องถามใจตัวเองว่าเราชอบแอมป์สไตล์แบบไหน? จะเป็นแอมป์ Channel เสียง Clean อย่างเดียว หรือ 2 Channel : Clean และ แตก หรือ 3 Channel : Clean, Crunch, Solo ตรงนี้ก็จะมีผลไปถึงเรื่องราคาทั้งนั้น ถ้าใช้ซ้อมหรือบันทึกเสียง ไม่จำเป็นต้องซื้อใหญ่มากจะทำให้ได้ความอิ่มและแคแรกเตอร์ของเสียงที่ชัดเจน กว่า ที่พี่ไม่ได้บอกให้เราซื้อแอมป์หลอดใช้ในการเล่น Live ก็เพราะว่า ถ้าระบบการขนส่งของเราไม่ดี แอมป์ก็จะมีอายุการใช้งานที่ไม่ยืน เราอาจจะหลีกเลี่ยงไปใช้แอมป์ที่เป็น solid state ก็มีอีกหลายยี่ห้อที่ให้น้ำเสียงดี อิ่ม มีความเป็นวินเจทสูง แถมยังเลียนเสียงแอมป์หลอดได้อย่างใกล้เคียงมากๆ พยายามเลือกซื้อแอมป์ที่เป็นตู้แอมป์อย่างเดียว คือมีพวกฟังค์ชั่น F/X เข้ามาร่วมน้อยที่สุด หรือเป็นแอมป์ที่มีความเป็นอะนาล็อก พี่ว่าน่าจะให้เสียงที่ดีและทนกว่า

เรื่องของความพุ่งไม่พุ่งนั้น คงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่างด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีตาร์ของเรา ตัวกีตาร์ สายแจ็ค เอฟเฟกต์ รวมถึงการปรับ EQ ที่ตู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราคงต้องหา Sound Good ใส่หัวและหูของเราให้มากๆ โดยการฟังจากเพลงสากลเป็นหลัก หรืออย่างในอัลบั้มของพี่หลายๆชุด พี่ก็จะใช้แอมป์อย่างเช่น EVH 5150, Twin Reverb ฯลฯ ก็ลองฟังจากผลงานของ Wizard เป็นตัวประกอบไปก็ได้ครับ

คลาสของแอมปลิไฟร์, กำลังขับ, การเลือกซื้อแอมป์ท้องตลาดทั่วไป

ตอนนี้ ก็จะมาว่ากันถึงเรื่องของการออกแบบภาคขยายแอมปลิไฟร์ ในส่วนสำคัญก็คือ การจัดวงจรขยายเสียงในรูปของคลาสต่าง ๆ
อันนี้ทำความเข้าใจเอาไว้ก่อน ว่า คำว่า "คลาส" ในที่นี้ ไม่ใช่การแบ่งเกรดของแอมป์ว่าเป็นระดับสูง ระดับต่ำ แต่เขาแยกกันตามลักษณะในการไบอัสกระแสให้กับทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในวงจรขยายเสียง เมื่อมีการออกแบบภาคขยายเสียง นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของวงจรแต่ละประเภท พูดกันง่าย ๆ คือมันไม่มีวงจรไหน ๆ ที่ถือว่าดีที่สุด หรือไม่มีใครบอกได้ว่าวงจรขยายเสียงแบบไหนจะได้มาซึ่งคุณภาพเสียงดีที่สุด แต่สามารถบอกด้วยเครื่องมือได้ว่าแอมป์และวงจรที่ออกแบบมานั้นให้กำลังขยาย เท่าไร? กี่วัตต์? มีความผิดเพี้ยนจากสัญญาณอินพุทเท่าไร?
แอมปลิไฟร์ หรือภาคขยายเสียง ที่ทำออกมาขายกันทั่วโลกนี้ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นแอมคลาส A-B แอมป์คลาสอื่น ๆ มีออกมาน้อยเต็มที ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับขนาดของเครื่องบ้าง หรือเหตุผลทางต้นทุน ไม่คุ้มที่จะนำมาแข่งขันกับตลาดเครื่องเสียงทั่ว ๆ ไป
ตอนนี้เราลองมาดู กันว่าแอมป์แต่ละคลาส เขามีวิธีการจัดวงจรขยายกันอย่างไร คำว่าการ ไบอัส ในที่นี้ผมอยากใช้ภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่าคือ การป้อนกระแสไฟให้ตัวทรานซิสเตอร์นั่นเอง
เราย้อนกลับมาดูคลื่นเสียงใน อุดมคติกันก่อน ในภาพ A เป็นคลื่นไซน์เวฟบริสุทธิ์ ค่าหนึ่งที่แอมป์ทุกระดับจะต้องขยายให้เป็นไป ในรูป B ก็คือทำให้สัญญาณใหญ่ขึ้น (ดังขึ้น)

 


ลักษณะการจัดวงจรของคลาส A เขาจะให้ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวทำงานครบหนึ่งไซเกิล คือจากจุด O ไปยัง O จะไม่มีรอยต่อใด ๆ ที่เกิดจากการขยายสัญญาณ แต่นั้นก็เท่ากับว่าจะต้องจัดการป้อนกระแสให้ทรานซิสเตอร์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญาณอินพุทเข้ามาหรือไม่ ว่ากันตั้งแต่เปิดเครื่องเลย วงจรคลาส A จะรับประทานกระแสกันชนิดเต็มที่ เสียงที่ได้จากแอมป์คลาสนี้จะเหมือนรูป A ขยายเป็นรูป B เลยทีเดียว เรียกว่าสัญญาณเที่ยงตรงมาก แต่ข้อเสียก็มีนั่นคืจะทำให้เครื่องร้อนมากเพราะป้อนกระแสให้ทรานซิสเตอร์ เต็มที่ตลอดเวลานั่นเอง
ทีนี้นักออกแบบเขาก็มาคิดกันว่า แทนที่จะใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว ทำงานครบทั้งไซเกิล (บวก-ลบ) ทำไมไม่ใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานในลักษณะผลัก-ดันช่วยกันทำงานคนละครึ่ง (อาจจะคล้าย ๆ กับวัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่งละมัง) วงจรแบบนี้เขาเรียกว่าคลาส B ซึ่งจะไม่มีการป้อนกระแสล่วงหน้าให้วงขยาย ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุทเข้ามาจึงค่อยป้อนกระแส ทีนี้ระบบผลัก-ดัน (PUSH-PULL) นี้ ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียอยู่ในตนเอง ที่ต้องพิจารณา ข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่สัญญาณที่ได้จากการขยายจะมีเกนของความผิดเพี้ยนสูง เกิดความผิดเพี้ยนรอยต่อของการส่งผ่านที่ทรานซิสเตอร์ซึ่งทำงานกันละครึ่ง ไซเกิล ดูจากภาพประกอบที่ 2 จะเห็นว่า ตรงจุดรอยต่อของการส่งสัญญาณนั้น จะทำให้ผิดไปจากสัคญญาณอินพุทที่ไม่รอยขยัก (ตรงที่วงกลมเอาไว้)

นัก ออกแบบแอมปลิไฟร์เขาก็เลยต้องมานั่งปวดหัวทั่วกันต่อ เพราะเสียงที่ได้จากแอมป์คลาส B นั้น มันผิดเพี้ยนเละเทะสิ้นดี กินไฟบ้านไม่มาก แต่เสียงไม่มีคุณภาพ คือเอาแต่ดังลูกเดียวไม่มีความใกล้เคียงสัญญาณจากดนตรีจริง ๆ ในที่สุด ก็มีนักออกแบบหัวใสนำข้อดีข้อข้อเสียของแอมป์คลาส A กับคลาส B มารวมกันเสียเลย จึงได้เกิดคลาส A-B อย่างที่แอมป์ในท้องตลาดทั่วไปเขาทำออกมาขายนั่นแหละ โดยใช้วิธีการป้อนกระแสไฟปริมาณต่ำ ๆ เอาไว้ล่วงหน้าที่ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 ตัว มันจึงคล้าย ๆ กับคลาส A ที่มีไฟเลี้ยงทรานซิสเตอร์ตลอดเวลา เพียงแต่ปริมาณไม่เต็มที่เท่าคลาส A แท้ ๆ จากนั้นการจัดวงจรก็ให้เป็นแบบ PUSH-PULL เหมือนคลาส B ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุทจากต้นแหล่งกำเนิดเสียงจึงค่อยทำการขยายตามหน้าที่ ดูจากรูปประกอบที่ 3 จะเข้าใจง่ายขึ้นครับ คือเขาจะป้อนกระแสปริมาณหนึ่งเอาไว้รอเชื่อมต่อการทำงานของทรานซิสเตอร์ ในลักษณะการทำงานจริง ๆ คลื่นตามไซน์เวฟจะแนบสนิทกัน แต่ในภาพเขียน ผมเขียนภาพไซน์เวฟคลื่นบวกลบให้ห่างกัน เพื่อจะได้เข้าใจง่าย

ลอง สังเกตดูซิครับ จะพบว่าคลื่นบวกกับคลื่นลบจะถูกป้อนกระแสให้เลยช่วงการทำงานไปเล็กน้อย คือเลยเส้นแกน O-O พอมีสัญญาณจริง ๆ ที่ต้องขยายเข้ามา มันก็พร้อมจะส่งต่อสัญญาณกันได้ทันท่วงที
ผมจะขอพูดถึงแค่แอมป์คลาส A-B ซึ่งเป็นแอมป์วงจรขยายพื้นฐานที่เรามีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในความเป็นจริง ยังมีแอมป์คลาสอื่น ๆ อีก เช่น คลาส C คลาส D (DIGITAL) คลาส H (ระบบแมกเนติกฟิลด์) เอาไว้ให้ถึงเรื่องพิเศษโดยเฉพาะของแอมป์ประเภทนั้น ๆ เราค่อยมาว่ากันอีกที เพียงแค่นี้ผมว่าท่านผู้อ่านบางท่านก็อยากจะรู้แล้วว่า เมื่อจะเลือกซื้อแอมป์ เราจะต้องพิจารณาจากจุดใดบ้างจึงจะไม่ผิดหวัง อีกอย่าง ขืนเขียนลายเส้นเคอร์ฟต่าง ๆ เหล่านี้หลาย ๆ ตอน รู้สึกว่ามันน่าเบื่อ จริงมั๊ยครับ
ตอนนี้เรามาดูกันที่ของจริง ๆ กันไปเลยว่า จะหาซื้อแอมป์กันอย่างไร?
การเลือกแอมปลิไฟร์ หรือเครื่องขยายเสียง จะต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลักด้วยว่าคุณจะซื้อมาใช้งานแบบใด ถ้าใช้ฟังในบ้านตามปกติ ไม่ใช่นำไปขยายเสียงในสถานบันเทิง ห้องประชุม เรียกว่าซื้อมาสำหรับการฟังเพลงพักผ่อนหย่อนใจ เราก็จะต้องมาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญอีก 2 ประการด้วยกันคือ เรื่องของขนาดห้องฟังเพลงและอุปกรณ์ร่วมอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพง เมื่อคุณผู้อ่านย้อนกลับไปดูบทความบทที่ 2 จะเห็นแผนผังของเครื่องเสียงที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันระหว่างแหล่ง โปรแกรมแอมปลิไฟร์ ลำโพง ซึ่งเราจะขาดจุดใดจุดหนึ่งไปไม่ได้ ไม่งั้นไม่ได้ฟังเสียงเพลงกันพอดีละครับ
ขนาดของห้องฟัง


ห้อง ที่มีขนาดใหญ่ ย่อมต้องการแอมป์ที่มีกำลังขับสูง ๆ ขึ้นไปเป็นเงาตามตัว การใช้แอมป์ที่มีกำลังขับน้อย ๆ ย่อมไม่เหมาะสมหรือพอเพียงต่อการขับเสียงลำโพง ให้มีเวทีเสียงใกล้เคียงกับความเป็นจริงในการฟังเพลง เสียงที่ได้อาจถูกลืนหายไปกับการซับเสียงภายในห้องหรือการจางหายไป ที่เขาเรียกว่าความเข้มของเสียงลดลงไปเรื่อย ๆ ตามปริมาตรห้องฟัง ตามปกติในการฟังเพลงธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ในแบบฟังเผื่อคนข้างบ้านหรือฟังกันเสียงดังทะลุทะลวงฝาบ้าน ห้องขนาดเล็กทั่วไปขนหาด 3 x 4 เมตร อาจจะใช้แอมป์ที่มีกลังขับ 20-50 วัตต์ต่อข้างก็พอเพียง ห้องขนาดกลาง 4 x 7 เมตร ใช้แอมป์ 60-120 วัตต์ต่อข้าง และห้องขนาดใหญ่กว่านั้น 5 x 8 เมตรขึ้นไปควรใช้แอมป์ที่มีกำลังขยายขนาด 200 วัตต์ต่อข้างจึงจะพอเพียง ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยในการฟังเพลงของคุณด้วย ถ้าต้องการฟังกันแบบใกล้เคียงกับการยกวงดนตรีมาไว้ในบ้าน อาจจะต้องใช้แอมป์ที่มีกำลังขับสูงกว่านี้ขึ้นไป อีกเหตุที่ระบุว่ากำลังขับต่อข้าง ก็เพราะระบบเครื่องเสียงในบ้านจะเป็นระบบสเตอริโอ 2 ช่องเสียงครับ (2 CHANNEL)
อุปกรณ์ส่วนร่วมและลำโพง


อุปกรณ์ส่วนร่วม หมายถึง แหล่งโปรแกรม ที่ต้องนำมาจัดเข้าเป็นชุดเดียวกันจะต้องเหมาะสมกันไม่ว่าจะเป็นคอมแพ็ก ดิสก์เพลเยอร์ จูนเนอร์ คาสเซ็ตเด็ค อย่างน้อย ๆ คุณภาพเสียงจะต้องดีพอเพียงกัน สังเกตจากราคาก็พอจะมองเห็นได้ชัด เช่น คุณคงไม่นำคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ ราคาเจ็ดพันบาทมาใช้กับแอมป์ที่มีราคาเจ็ดแปดหมื่นบาท อย่างนี้เขาเรียกว่าคนละชิ้นกันเลย กับแอมปลิไฟล์หรือภาคขายเสียงละเอียด ๆ จะฟ้องออกมาให้เห็นโทนโท่ว่าเสียงของคอมแพ็กดิสก์ ก็ยังหยาบกร้านอยู่เป็นอันมาก ยิ่งตัวลำโพงด้วยแล้ว จะยิ่งมีความสำคัญอย่างที่สุด ลำโพงที่เกรดดีราคาแพง ลำโพงเล็ก ๆ บางคู่ อย่าง MONITOR AUDIO รุ่น STUDIO TEN ราคาแพงกว่าซื้อมินิคอมโปสามสี่ชุดให้รายละเอียดจะแจ้งชิ้นดนตรีเด่นชัดสม จริง เหมือนอย่างนักเล่นเครื่องเสียงเขาว่ากันนั่นแหละ ยิ่งแพงก็ยิ่งให้เสียงเหมือนจริง ว่าแต่ว่าเราจะมาเล่นเครื่องเสียงกันทั้งที เราต้องใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละชุด ไม่ว่าจะถูกหรือแพงปานใด
ลำโพง ที่จะเข้ากันกับแอมปลิไฟร์ของคุณนั้น จะต้องดูด้วยว่ามีค่าความไวเท่าไร?
ลำโพง ที่มีค่าความไวค่อนข้างต่ำ อาจต้องใช้กำลังขับจากแอมป์ที่มีกำลังขับสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือไม่ได้ตายตัวเหมือนสูตรที่ใช้กับห้องฟังข้างต้นเสมอไป และเมื่อคุณได้อ่านตอนต่อไป ซึ่งว่าด้วยเรื่องศาสตร์ของการผลิตลำโพงแล้วจะเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกครับ แต่ตอนนี้เรามาว่ากันคร่าว ๆ ก่อน คือลำโพงเขาแบ่งค่าความไว หรือประสิทธิภาพ (EFFICIENCY) ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภท ประสิทธิภาพสูง
ประสิทธิภาพกลาง
ประสิทธิภาพต่ำ
การวัดค่าความ ไว หรือประสิทธิภาพลำโพง จะทำกันในห้องไร้เสียงสะท้อนของวิศวกร วางลำโพงโดยตั้งให้ห่างจากไมโครโฟนวัดเสียง 1 เมตร ใช้กำลังขับจากแอมป์ป้อนเข้าไป 2.83 โวลต์ (1 วัตต์) จะได้ความดังที่วัดได้กี่เดซิเบล (DB) นั่นแหละจะได้ค่าความไวของลำโพงออกมา แล้วมาจัดแบ่งประสิทธิภาพกัน พวกที่ไวสูง ตั้งแต่ 93 ดีบีขึ้นไป เรียกว่าลำโพงประสิทธิภาพสูง ลำโพงที่มีค่าความไววัดได้ต่ำจาก 92 ดีบี ลงมาจนถึง 89 ดีบี เรียกว่ามีประสิทธิภาพกลาง แต่ถ้าลำโพงใดก็ตามมีค่าความไววัดได้ต่ำกว่า 88 ดีบีลงมา เขาเรียว่าลำโพงประสิทธิภาพต่ำ
โปรดเข้าใจด้วยนะครับว่า ประสิทธิภาพไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณภาพเสียง ไม่ใช่ว่าลำโพงประสิทธิภาพสูงแล้วจะต้องเสียงดี อันนี้มันคนละเรื่องกัน ลำโพงที่ประสิทธิภาพต่ำส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่ให้คุณภาพเสียงดี ประสิทธิภาพสูง ๆ จะมีประโยขน์ตรงที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้แอมป์ที่มีกำลังขับสูง ๆ (ราคาแพง) มาขับลำโพงนั้น ๆ และลำโพงประสิทธิภาพต่ำนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กำลังขับจากแอ มปลิไฟร์ที่มีกำลังขับสูง ๆ นี่คือสูตรธรรมดา ๆ ของการจับคู่แอมปลิไฟร์และลำโพง
ท่านผู้อ่านคงไม่ลืมว่าแอมปลิไฟร์ที่ กำลังพูดถึงนี้ หมายถึงปรีแอมป์-เพาเวอร์แอมป์ (ภาคปรับแต่ง-ภาคขยาย) หรืออินทิเกรทเตดแอมป์ (ทั้งที่มีทั้งภาคขยายและภาคปรับแต่งในตัวเองอยู่แล้ว) ถ้าคุณเลือกใช้อินทิเกรทเตดแอมป์ ก็ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องซื้อปรีเพาเวอร์แอมป์อีก ถ้าหากสงสัยก็ให้ลองย้อนกลับไปดูแผนผังคราวที่แล้ว (บทที่ 2)
ต่อจากนี้ ไป คือตัวอย่างของแอมปลิไฟร์ที่น่าสนใจในตลาดเครื่องเสียง ซึ่งผมคิดเฉพาะที่กำลังเป็นที่นิยมหรือระดับเบสต์บาย (BEST BUY) โดยยกตัวอย่างอินทิเกรทเตดแอมป์ 2 เครื่อง และปรีเพาเวอร์ 2 ชุด ให้คุณผู้อ่านลองศึกษารายละเอียด และลองหาโอกาสไปฟังกันดู
NAD 302


อิน ทิเกรดเตดแอมป์มีภาคขยายและภาคปรับแต่งโทนคอนโทรล ซึ่งปรับทุ้มแหลมได้ เป็นแอมป์ที่มีหน้าตาค่อนข้างจืด เอาเป็นว่าถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่มีการแต่งหน้าทาปากกันเลย ออกแบบเน้นคุณภาพเสียงจริง ๆ ไม่มีลูกเล่นกระจุกกระจิกรกเลอะเทอะบนหน้าปัด มีกำลังขับข้างละ 25 วัตต์ ที่มีความต้านทาน 8 โอห์ม แต่ด้วยวิธีการออกแบบชาญฉลาด วิศวกรของ NAD ทำให้แอมป์เครื่องนี้มีพลังสำรองมากถึงหนึ่งเท่าตัว หมายถึงว่ามันสามารถจ่ายพลังให้ได้ถึง 40 วัตต์ เมื่อยามที่สัญญาณดนตรีโหมกระโชกหรือต้องการพลังอัดฉีดเมื่อมีความจำเป็น และเมื่อมีโหลดต้านทานต่ำ ๆ มันจะขับเสียงไปได้ถึง 75 วัตต์ต่อข้างเลยทีเดียว (ตามปกติลำโพงจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปจากความต้านทานสูง ๆ จนถึงค่าความต้านทานต่ำ ๆ 32-2 โอห์ม)
แอมป์รุ่น 302 นี้ พัฒนาขึ้นมาจากรุ่น 3020 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแอมป์ขนาดเล็กที่ขายดีที่สุดเครื่องหนึ่งของวงการ การออกแบบเน้นความเป็นเบสิกมากที่สุด เล่นง่ายไม่จุกจิก เหมาะกับนักเล่นมือใหม่ ๆ เป็นอย่างยิ่ง สามารถเลือกเล่นโปรแกรมได้ถึง 5 อินพุท รวมทั้งภายขยายหัวเข็มแผ่นเสียงด้วย เป็นแอมป์ที่มีโทนเสียงนุ่ม ๆ สะอาดเหมาะกับผู้ที่นิยมเพลงสไตล์ป๊อป แจ๊ซ ไลท์มิวสิก ที่ฟังกันเพลิน ๆ ได้ทุกเวลา ราคาประมาณเจ็ดพันกว่าบาทเท่านั้น เหมาะกับท่านที่มีห้องฟังไม่ใหญ่มากนัก สามารถขับเสียงลำโพง "ประสิทธิภาพกลาง" เสียงเต็มอิ่มเต็มห้องฟังขนาด 3x4 เมตร ได้อย่างสบาย ๆ
ONKYO A 809

อินทิเกรทเตดแอมป์ที่ "ครบเครื่อง" มากยิ่งขึ้น มีกำลังต่อเนื่อง 105 วัตต์ต่อข้างที่มีความต้านทาน 8 โอห์ม ซึ่งเหมาะกับห้องขนาดกลาง ๆ ประมาณ 4 x 7 เมตร หรือจะมีขนาดเล็กใหญ่กว่านี้สักเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร หรือจะเอาไปใช้ในห้องขนาด 3 x 4 เมตรก็ได้ การมีแอมป์ที่มีกำลังขับสูงๆ ไว้ก่อน มักจะได้เปรียบในแง่หนึ่ง ที่เห็นได้ชัดก็คือเมื่อยามเปิดฟังเบา ๆ เสียงจากแอมป์ขนาดกำลังขับสูง ๆ จะให้เสียงดนตรีได้ละเอียดชัดเจนกว่าแอมป์ขนาดเล็กที่เปิดดังเท่า ๆ กัน นอกจากออน เกียว A 809 จะมีกำลังขับสูงแล้วอินพุทเลือกเล่นแหล่งโปรแกรมก็มีครบถ้วน 7-8 อินพุท แถมยังให้คุณฟังเพลงจากแหล่งโปรแกรมหนึ่ง ในขณะที่กำลังบันทึกเทปจากแหล่งโปรแกรมอื่น ๆ ได้ในขณะเดียวกันด้วย เช่น ฟังวิทยุไปพร้อมกับที่คุณบันทึกเสียงจากคอมแพ็กดิสก์ลงเทปคาสเซ็ตได้โดยไม่ รบกวนกัน ที่ค่อนข้างจะทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์ (โลกานุวัตร) ก็คือ มีรีโมตคอนโทรลในการเลือกแหล่งโปรแกรม เร่ง-ลดระดับความดังจากระยะไกล ๆ ได้ ทำให้นั่งฟังเพลงได้อย่างยาวนานขึ้น ไม่ต้องลุกไปคอนโทรลที่แอมป์โดยตรง เรียกว่านั่งฟังกับที่จนงอกรากได้นั่นแหละครับ
EXPOSURE 17,18


ปรี-เพา เวอร์จากประเทศอังกฤษ ที่ดูหน้าตาจืดเสียยิ่งกว่าจืด เห็นหน้าตาท่าทางบางคนนึกว่าเป็นแอมป์ถูก ๆ บ้านหม้อซะอีก แอมปลิไฟร์พอขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง เขาไม่สนกันแล้วว่าหน้าตาจะสวยหรือไม่ แต่การออกแบบวงจรภายในต้องดีเยี่ยมอุปกรณ์เกรดเอเหมือนดังที่แอมป์เอ็กซ์ โฟเซอร์เป็นอยู่ รหัสรุ่น 17 คือปรีแอมป์ ส่วนรหัสรุ่น 18 ก็คือเพาเวอร์แอมป์ (ปรี-เพาเวอร์ก็เหมือนกับการแยกอินทิเกรทเตดแอมป์ เป็น 2 ส่วนนั่นเอง)
ปรี-เพาเวอร์คู่นี้ ภาคจ่ายไฟเขาใช้ทรานสฟอร์เมอร์แบบวงแหวน (เทอรอยดัล) มองดูจากตัวหน้าปัดปรีแอมป์ คนที่ชอบแอมป์ที่มีปุ่มปรับเยอะ ๆ คงแทบร้องไห้ เพราะมีปุ่มให้เล่นแค่ 3 ปุ่มเท่านั้น คือ วอลุ่มใช้เร่งลดเสียงดังค่อย ปุ่มเลือกฟังโปรแกรมและปุ่มเลือกบันทึกจากแหล่งโปรแกรมต่าง ๆ มีไลน์อินพุทอยู่ 5 ชุดเป็นภาคไลน์อินพุท ส่วนอินพุทหรือช่องสัญญาณเข้าชุดที่ 6 เป็น PHONO หมายถึง เล่นกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงได้
ตัวเพาเวอร์แอมป์รุ่น 18 มีกำลังขับ 60 วัตต์ต่อแชนแนล มีอินพุททั้งแบบ RCA มาตรฐานทั่วไป และแบบ XLR ที่ใช้กับเครื่องโปรเฟสชั่นแนล ที่เขาว่ากันว่าให้เสียงดีกว่าแบบ RCA เรื่องของเรื่องเป็นอย่างไร ผมจะขุด (ค้น) มาเล่าให้ฟังตอนต่อ ๆ ไป การเล่นแอมป์ประเภทแยกชิ้นนั้นคุณจะได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นกว่าอินทิเกรทเต ดแอมป์ และโอกาสในการยกระดับด้วยการเปลี่ยนเครื่องจะง่ายกว่า เพราะเลือกเปลี่ยนเฉพาะปรีหรือเพาเวอร์ก็ได้ ในขณะที่อินทิเกรดเตดแอมป์ คุณจะต้องยกไปเปลี่ยนทั้ง 2 ภาค (เพราะอยู่ในตัวเดียวกัน) ราคาปรีเพาเวอร์ EXPOSURE 17,18 ประมาณชุดละ 60,000 บาท

Encore
Duet 350
CELLO THE ENCORE, DUET 350

เชลโลไม่ใช่เครื่องเสียงธรรมดา ๆ เพราะเป็นผลงานจากมิสเตอร์มาร์ค ลีวินสัน ที่ลาออกมาจากบริษัทเดิม มาตั้งทีมงานวิจัยผลผลิตใหม่ ๆ ทางเครื่องเสียงมี ปรัชญาที่ว่า "เมื่อไม่จำกัดวงเงินทำเครื่องเสียงที่ดีที่สุดได้แค่ไหน" ดังนั้นจึงมีทั้งคุณภาพที่เยี่ยมยอดและราคาที่ฟังแล้วชวนขนหัวลุก ดูไม่ค่อยมีเหตุผลนักกับคนที่ไม่ได้เป็นนักเล่นเครื่องเสียงด้วยสนนราคาของ ปรี-เพาเวอร์คู่นี้คือ 660,000 บาท ซื้อรถญี่ปุ่นดี ๆ มาขี่เล่นได้หนึ่งคันละครับ
ปรีแอมป์ที่เห็นปุ่มมากมาย ไม่มีปุ่มปรับทุ้มแหลมหรือโทนคอนโทรแม้แต่ปุ่มเดียว ว่ากันแบบแฟล็ท (FLAT) ปรีแอมป์เลยทีเดียว ที่เห็นหลายปุ่มก็เพราะแยกการปรับระดับความดังซ้ายขวาออกจากกัน มีมาสเตอร์วอลุ่มคุมอีกทีหนึ่ง ปุ่มบาลานซ์ซ้ายขวาและรีเวิร์ส คือสามารถปรับเสียงแชนแนลซ้ายสลับมาแทนแชนแนลขวาได้ อินพุทภาคไลน์มีถึง 8 ชุด มีภาคโฟโนสำหรับเล่นกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกหนึ่งโปรแกรม ที่เห็นในภาพตัวบนคือตัวปรีแอมป์ ส่วนตัวล่างเป็นเพาเวอร์แอมป์ ENCORE ระบบดูอัลโมโน
เพาเวอร์แอมป์ที่อยากจะแนะนำ ได้แก่รุ่น DUET 350 เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่มีขนาดบึกบึนจริง ๆ ถ้าหากยกคนเดียวคงหลังแอ่นเพราะหนักถึง 95 ปอนด์หรือ 43 กิโลกรัมต่อเครื่อง ออกแบบเรียบง่ายมาก มีปุ่มปิด-เปิดไฟเข้าเครื่องเท่านั้นเอง ให้กำลังขับในระบบสเตอริโอข้างละ 350 วัตต์ ที่ความต้านทาน 8 โอห์ม หรือถ้ายังไม่พอใจ จะนำไปบริจด์เป็นโมโน (ใช้ 2 เครื่องต่อหนึ่งซิสเต็ม) ก็จะได้ 1,200 วัตต์ต่อแขนแนล (สะใจ!)
เมื่อนำปรี-เพาเวอร์คู่นี้มาจับ ชุด ใช้ทั้งลำโพง-แหล่งโปรแกรมผสมครบชุด ราคาคงไม่ต่ำกว่าชุดละเจ็ดแปดแสนบาท ถึงหนึ่งล้านกว่าบาท นี่หละครับที่นักเลงเครื่องเสียงเขาเล่นกัน ดุขนาดนี้! ความแพงของแอมป์ระดับไฮเฮนด์อย่าง CELLO ไม่ใช่ขึ้นอยู่ที่กำลังขับ แต่อยู่ที่การออกแบบและการใช้อุปกรณ์ที่ดีเลิศ ให้การถ่ายทอดเสียงดนตรีสมจริงไม่ผิดเพี้ยน ชุดเครื่องเสียงที่ให้เสียงใกล้เคียงดนตรีเท่าไรก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ครับ ว่าบ้านเราก็มีลำโพงคู่ละล้านกว่าบาทเป็นลำโพงคู่ใหม่เอาไว้จะมาเล่าสู่กัน ฟังครับ

ที่ยกตัวอย่างแอมปลิไฟร์ทั้ง 4 แบบขึ้นมานี้ ก็เพราะอยากจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง-จุดประสงค์ของการออกแบบ ซึ่งมุ่งไปยังผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกัน คนเริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลย อาจจะต้องการเล่นชุดง่าย ๆ แอมป์อย่าง NAD302 เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ไม่มีปุ่มมากมายสับสน ข้อสำคัญให้เสียงที่ดีพอสมควร หรือถ้าห้องมีขนาดใหญ่และต้องการกำลับขับสูงขึ้น อาจจะหันมาเลือก ONKYO A 809 แทน ส่วนที่คิดจะเล่นกันแบบจริงจัง เครื่องแยกชิ้นข้นเริ่มต้น อย่าง EXPOSURE MODEL 17, 18 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งบนความเรียบง่ายที่ให้คุณภาพเสียงน่าพึงพอใจ ราคาพอยอมรับได้ และระดับไฮเอ็นด์แบบไม่จำกัดวงเงิน แอมปลิไฟร์ของ CELLO ก็น่าลิ้มลองท้าทายไม่ใช่น้อย
แอมปลิไฟร์แบบอินทิเกรดเตดที่ยกตัวอย่าง มาทั้งหมด เป็นคลาส A-B และปรีแอมป์ทุกเครื่องออกแบบในระบบวงจรคลาส A ส่วนเพาเวอร์แอมป์ก็เป็นคลาส A-B ทุกเครื่องเช่นกัน
บทสรุปของการเลือก ซื้อแอมปลิไฟร์เออร์จากตลาดเครื่องเสียง ที่ผมอยากสรุปทิ้งท้ายเอาไว้ตรงนี้ก็คือ
คุณภาพเสียงที่ได้ต้องฟังสบาย หู รายละเอียดดนตรีควรชัด ไม่เสียงทึบอู้
กำลังขับไม่ว่าจะเท่าใด ควรมีพลังในการขับลำโพงอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่พอเร่งดัง ๆ แล้ว เสียงเพี้ยนแสบแก้วหู มีพลังสำรองพอเพียงยามดนตรีโหมกระโชกหลาย ๆ ชิ้นติดต่อกัน
ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นปุ่มอะไรต่อมิอะไรมากมาย ยิ่งมากปุ่มยิ่งสับสน บางทีทำให้คุณภาพเสียงเลวลงด้วยซ้ำไป
พยายามสลับ แอมปลิไฟร์หรือแหล่งโปรแกรมไปยังเครื่องอื่น ๆ บ้าง ในการลองฟังที่ร้านค้า เพราะคุณอาจจะพบแอมป์ที่ดีกว่าแอมป์ที่คุณนั่งฟังอยู่นานสองนานแต่ไม่ถูกหู ก็ได้
แอมป์ยี่ห้อเดียวกันไม่ไม่ใช่ว่าจะดีทุกรุ่น บางทีรุ่นเล็ก ๆ เสียงดีกว่ารุ่นใหญ่ที่แพงกว่าก็มี ลืมเรื่องยี่ห้อหรือคำบอกเล่าที่ดูพิสดารพันลึกเกินไปในถ้อยคำโฆษณาเสียเถิด
ซื้อเครื่องเสียงทุกครั้ง อย่าลืมสืบสาวประวัติการบริการหลังการขายว่าดีไม่ดีอย่างไรด้วย (สำคัญมาก)


โปรด ระลึกเสมอว่า ไม่มีผู้ผลิตใด ๆ ผลิตเครื่องทุกรุ่นทุกแบบได้ดีทั้งหมด บางบริษัทอาจผลิตแอมป์ได้ดีแต่ผลิตคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ เทปคาสเซ็ตไม่ได้เรื่องก็ได้ หรือผู้ผลิตลำโพงที่ดีมักไม่ใช่ผู้ผลิตแอมป์ที่ดี ดังนั้นการเล่นเครื่องเสียง จึงจำเป็นต้อง "ผสมข้ามพันธุ์"