จีอายมิวสิค,เครื่องดนตรี,กีต้าร์,กลอง,เบส,เครื่องเป่า,ตู้แอมป์,เครื่องวงโย,เครื่องดนตรีสากล,กลองเดินแถว,คีย์บอร์ด,เปียโน,ไวโอลิน

บทความ

การฝึกเป่า ฟลุ๊ต

01-09-2555 10:26:24น.

การฝึกเป่า Flute

ทิปที่ ๑ การหายใจ
การหายใจเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับนักเล่นฟลู้ต การหายใจที่ดีมาจากการหายใจที่ลึกโดยใช้กระบังลม และการคงไว้ซึ่งแรงดันลมเมื่อเล่น ทดสอบได้โดยให้ใครบางคนลองต่อยเบาๆที่ท้องของคุณในขณะที่คุณเล่น (กรุณาอย่าต่อยแรงเกินไป) ถ้าช่วงท้องของคุณอ่อนนุ่มนั่นหมายความว่าคุณอาจจะไม่มีแรงดันลมเพียงพอในการเล่น การหายใจที่ลึกเริ่มจากช่องท้องขยายก่อนหลังจากนั้นจะเป็นหน้าอก รวบรวมความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องความดันลมความเร็วของลม และหัดฟังเสียงที่เป่าออกมา คุณจะพัฒนาโทนสียงได้ดีขึ้น คุณจะสามารถผลิตเสียงที่กลมขึ้น เสียงที่สามารถไปได้ไกลขึ้น และมีพลังมากขึ้น

ทิปที่ ๒ ท่าทางในการเป่า
ท่าทางในการเล่นมีความสำคัญเท่าๆกับการหายใจที่ถูกต้องในการผลิตเสียงที่ดีกลมและมีพลัง ลองวาดภาพตัวคุณเองกำลังเป่าฟลู้ตคล้ายกับนักร้องที่ยืนอย่างยืดตัวและช่วงช่องอกขยายที่กำลังเปล่งเสียงร้องอย่างมีพลังจนเต็มโรงละคอน เนื่องจากนักฟลู้ตก็เปรียบเสมือนนักร้องที่การหายใจนั้นสำคัญที่สุดในการเล่น คุณคงจะอยากให้ปอดของคุณขยายได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยืนเล่นในท่าที่ตึงเครียด แต่หมายความว่าคุณควรจะยืนอย่างเป็นธรรมชาติเมื่อคุณเล่น


ทิปที่ ๓ ตำแหน่งของมือ
สังเกตการวางมือของคนเป่าฟลู้ต เพื่อหาจุดที่มีปัญหาไม่ให้เกิดความตึงเครียดหรืออาการเกร็ง ความตึงเครียดหรืออาการเกร็งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้และทำให้ไม่มีการพัฒนาในการเล่น ดังนั้นเราควรจะปล่อยให้มือและแขนของเราเป็นแบบธรรมชาติ การฝึกหน้ากระจกและทดลองสังเกตมือและแขนของตัวเองเป็นวิธีหนึ่ง ถ้าหากว่าข้อมือของคุณโค้งงอคุณอาจจะเจ็บหรือปวดที่มือหรือข้อมือ วิธีการแก้ไขก็คือลองวางฟลู้ตลง ทดลองทำท่าเหมือนกำลังถือฟลู้ตอยู่หน้ากระจกอย่างธรรมชาติ สังเกตว่ามือของคุณอยู่ในตำแหน่งไหน ทดลองยกฟลู้ตขึ้นด้วยมือเดียว โดยที่ยังคงตำแหน่งของข้อมือที่ไม่เกร็งเอาไว้

ทิปที่ ๔ การยกไหล่
ให้ยืนที่หน้ากระจก สังเกตที่หัวไหล่ของคุณขณะที่คุณหายใจว่า คุณยกไหล่หรือไม่ ถ้าคุณยกไหล่ขณะหายใจ ความจุปอดของคุณจะลดลง และนี่เป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณไม่ได้หายใจโดยใช้กระบังลมและทำให้เกิดอาการเกร็ง ขณะที่คุณยืนฝึกที่หน้ากระจก คุณต้องแน่ใจว่าคุณหายใจอย่างถูกต้องโดยใช้กระบังลมและให้หัวไหล่อยู่ในตำแหน่งที่เป็นธรรมชาติ

ทิปที่ ๕ การเปิดคอ
การเปิดคอมีความสำคัญในการผลิตเสียงที่เปิดมากขึ้นและกว้างขึ้น ในทำนองกลับกันการเล่นโดยปิดคอนั้นจะผลิตเสียงที่เหลมเล็กไม่ไพเราะ สังเกตความรู้สึกในขณะที่หาวคุณจะมีการเปิดคอมากขึ้นลมจะผ่านช่องคอและปากได้อย่างอิสระ จงคงความรู้สึกถึงการหาวนี้ไว้เมื่อคุณเป่าและคอยฟังการพัฒนาของคุณภาพเสียงที่คุณผลิตขึ้น

ทิปที่ ๖ การซ้อมช้าๆ
ถ้าคุณสามารถเป่าท่อนที่ยากๆเร็วๆได้อย่างช้าๆในจังหวะที่สม่ำเสมอ คุณก็สามารถเป่ามันอย่างเร็วๆได้ วิธีการการฝึกท่อนที่ยากๆเร็วๆคือการฝึกอย่างช้าๆกับเมโทรโนม ในการฝึกต้องคำนึงถึงวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ฝึกเล่นท่อนนั้นหลายๆครั้ง เมื่อชำนาญแล้วก็เปลี่ยนจังหวะให้เร็วขึ้นจนเร็วถึงจังหวะที่ต้องการ


ทิปที่ ๗ เมโทรโนมและเครื่องเทียบสียง
กรุณาอย่าออกจากบ้านถ้าไม่มี ๒ สิ่งนี้ เมโทรโนมและเครื่องเทียบสียง จังหวะแเละระดับสียงที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นดนตรีไม่ว่าคุณจะซ้อมคนเดียวหรือเล่นกับผู้อื่นในวงแชมเบอร์หรือวงออเคสตร้า กรุณาอ่านทิปที่ ๖ สำหรับวิธีการฝึกซ้อมกับเมโทรโนม การเล่นช้าๆกับเครื่องเทียบเสียงฝึกการฟังอย่างระมัดระวังเพื่อจะได้รู้ว่าโน้ตตัวไหนเพี้ยนและเพี้ยนไปในทางชาร์ปหรือแฟลต จงติดเอาเมโทรโนมและเครื่องเทียบสียงไปในขณะที่จะซ้อมรวมวงทุกครั้งในกรณีที่คุณต้องการจะตรวจสอบจังหวะและเสียง

ทิปที่ ๘ โน้ตตัวแรกและตัวสุดท้ายของประโยค
โน้ตตัวแรกและตัวสุดท้ายของประโยคจะต้องเล่นอย่างสวยงามและอยู่ในลักษณะของเพลง โน้ตตัวแรกของประโยคเป็นจุดเริ่มและจุดตั้งต้นของประโยคเพลงดังนั้นจึงควรเล่นให้เหมาะสมกับลักษณะของเพลง