มิกเซอร์ Mixer เรามาทำความรู้จักกับปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์กัน
มิกเซอร์ Mixer
มิกเซอร์ Mixer ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียง ปรับและปรุงแต่งสัญญาณเสียงโดยมีปุ่มต่างๆที่คอยปรับสัญญาณเสียงแล้วส่งออกไปยังภาคขยายสัญญาณอีกที
เรามาทำความรู้จักกับปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์กัน
มิกเซอร์ Mixer ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียง ปรับและปรุงแต่งสัญญาณเสี
หน้าที่ต่างๆของปุ่มบนมิกเซอร์ มีรายละเอียดดังนี้
1.Input jack คอยรับสัญญาณจากไมโครโฟนหรือจากเครื่องดนตรีต่างๆที่เป็น Line มักจะอยู่ที่ตำแหน่งบนสุดของมิกเซอร์ เต้ารับสัญญาณ Jack จะมีอยู่ 3 แบบคือ RCA,-10dBv,XLR หากมิกเซอร์ตัวที่มีราคาแพงจะใช้เต้ารับสัญญาณเป็นแบบ XLR แต่มิกเซอร์ที่เป็นแบบก฿่งมืออาชีพก็จะใช้เต้ารับสัญญาณแบบ RCA และ 1/4นิ้ว
2.Phantom ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นไมโครโฟน
แบบคอนเดนเซอร์ Condenser ไฟที่ปล่อยออกมาจะเป็นไฟ DC จะมีแรงดันระหว่าง
12-48 โวลต์และจะมี Phase คอยทำหน้าที่ปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้องให้คืนอยู่ในสภาพปกติ สวิตซ์เฟสนี้จะพบในมิกเซอร์ราคาแพงเท่านั้น
3.Pad จะมีสวิตซ์นี้ในมิกเอร์ที่ราคาแพงเช่นกัน ทำหน้าที่ลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาลงไป 20 dB บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (Microphone Attenuation )
4.Mic/Line/Tape input select ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกแหล่งสัญญาณที่เข้ามาเพื่อให้ความเหมาะสมของสัญญาณก่อนที่จะป้อนเข้ามาให้เหมาะสมกับภาคปรีแอมป์ Pre-amp และเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแตกพร่าในการใช้งาน สามารถปรับการใช้งานได้ด้วยการดุที่มิเตอร์ VU Meter
5.Peak meter มีหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาใน Channel มิกเซอร์ Input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนด เมื่อสังเกตุว่าไฟสว่างขึ้นให้ปรับลดที่แกนGain หรือ พาราเมตรตริก อีคิว
6.Low Pass-Filter ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหวา่ง 8-10kHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านไปโดยสะดวก ซึ่งในมิกเซอร์ราคาแพงสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ผ่านได้อีกด้วย
7.High Pass-Filter ทำหน้าที่ตัดสัญญาณเฉพาะด้านความถี่ต่ำที่อยู่ที่ประมาณ 80-100 Hz ไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้
8.Channel mute มีหน้าที่เปิด ปิด สัญญาณที่เข้ามาในแต่ละ Channel ของมิกเซอร์ประโยชน์ของปุ่มนี้ก็คือช่วยให้กำหนดการเปิด ปิด ของสัญญาณที่ได้ยินแต่ละชอ่งเป็นอิสระ
9.Insert jack หน้าที่ก็เหมือนสวิตซ์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับสัญญาณที่อยู่ในแต่ละ Channel ของมิกเซอร์เพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงแต่งเสียงต่างๆ Signal Processor ให้เป็นอิสระแต่ละช่องเสียง
10.Parametric Equalizer ทำหน้าที่ปรับความถี่ของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อปรับแต่งหา
ความถุกต้องตามที่ต้องการ เรียกย่อๆว่า EQ การทำงานของ EQ มีอยู่ 2
ย่านความถี่คือ เสียงสูง Treble และความถี่ต่ำ Bass
ไปจนถึงแบบละเอียดที่มีครบทุกความถี่ (สูง กลางต่ำ ) ที่เราเรียกว่าพาราเมตรตริกอีคิว Parametric EQ
11.EQ Bypass ทำหน้าที่ปิดหรือ Fader คือทำหน้าที่ปรับเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้า และ ออกไปจากมิกเซอร์ Output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง โดยทั่วไปนิยมเรียก โวลุ่ม Volume
12.Studio level มีหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ออกมาจากมิกเซอร์แล้วส่งเข้าไปยังห้องที่ทำการบันทึกเสียงเครื่องดนตรี นั่นก็คือห้อง Studio นั่นเอง
13.Control room level หน้าที่ของ Control room level นี้ก็คือควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุม
14.Solo ทำหน้าที่ตัดสัญญาณแต่ละชอ่งเสียงออกมา เพื่อการรับฟังโดยอิสระ จะได้ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลที่เราใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่ค้องปิดช่องเสียงอื่น
15.Auxiliary หรือเรียกย่อๆอีกชื่อคือ Aux send มีหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาในแต่ละช่องเสียงเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆอีกทอดหนึ่งหรือแหล่งรับสัญญาณต่างๆที่เราต้องการแต่ Aux send ก็จะมีตัว Master aux คอยควบคุมความแรงของสัญญาณอ๊อกทั้งหมดในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์อีกต่อหนึ่ง
16.Pre คือ สัญญาณที่เข้ามาใน Channel เสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์ เมื่อดึงเฟรดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วย แต่จะออกไปมีเสียงดังที่ภาค Pre ซึ่งยังอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟกต์ต่างๆ ดังนั้นเสียงที่ยังได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวิร์บนั่นเอง ผลที่จะได้รับก็คือ สัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟรดเดอร์หลักทำให้สามารถนำสัญญาณนั้นๆไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามต้องการหรือสร้างสีสันต์ทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง
17.Post คือ เสียงที่เข้ามาตาม Channel จะมีผลดัง เบา ตามเฟรดเดอร์หลัก ก็คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย
18.Pan มีหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวา และยังทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณเพื่อลงร่องเสียง Track เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย
19.Group or bus ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียว เพื่อที่จะส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้ Pan เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับชอ่งเลือกสัญญาณ Track Selected
20.Track Selected จะอยู่บนสุดเป็นส่วนใหญ่ทำหน้าที่ตัวจ่ายสัญญาณว่าจะให้ออกไปสู่ชอ่งเสียงใดที่เครื่องบันทึกเทปมัลติแทรกหรือเรียกอีกชื่อว่า Direct Assign
21.Direct Output ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสดๆนี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง Effects หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์
22.Effect Send มีหน้าที่หลักคือจ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ละช่องเสียงไปสู่เอฟเฟก ซึ่งมักจะใช้ปุ่ม Aux เป็นตัวส่งสัญญาณ
23.Effect return ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก Effect Send เพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟกต์
24.Stereo Master Fader มีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ แบบสไลด์โวลุ่ม และ แบบหมุน มีหน้าที่เป็นตัวปรับดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายและขวาก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ
25.Group or Buss Output Faders บางทีก็เรียก กรุ๊ปเฟดเดอร์ ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ปหรือบัสอินพุตเฟดเดอร์ โดยจะแยกเป็น สเตอริโอซึ่งมีแพนคอยทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อผลของการ Mixdown หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ
26.Stereo Buss Input ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณอื่นเพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้ร่วมกัน สามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สองจากภาคเอาร์พุตสเตอริโอ แล้วต่อเข้าที่สเตอริโอบัส ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรกจะทำให้สามารถควบคุมระดับความแรง เบาของสัญญาณจากมิกเซอร์ตัวที่สองได้ที่มิกเซอร์ในตัวแรกในภาคสเตอริโอบัสในมิกเซอร์ตัวแรก
27.Auxiliary Send Masters ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดที่มาจาก aux จากแต่ละช่องเสียงในมิกเซอร์
ฉะนั้น แต่ละปุ่มบนมิกเซอร์จะมีหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป และเป็นหน้าที่ ที่สำคัญทุกปุ่มบนมิกเซอร์ตัวนั