จีอายมิวสิค,เครื่องดนตรี,กีต้าร์,กลอง,เบส,เครื่องเป่า,ตู้แอมป์,เครื่องวงโย,เครื่องดนตรีสากล,กลองเดินแถว,คีย์บอร์ด,เปียโน,ไวโอลิน

วงเมโลเดียน ยกวง

  เมโลเดียน  เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทลิมนิวที่มีลักษระผสมผสานระหว่างหีบเพลง กับฮาร์โมนิกา
ทำงานโดยเป่าลมผ่านท่อ โดยตัวท่อนั้นจะอยู่บริเวณด้านข้างของตัวเมโลเดี้ยน วิธีทำให้เกิดเสียงก็คือ
เป่าลมและกดคีย์บอร์ดไปพร้อม ๆ กัน
  เมโลดิกา หรือ เมโลเดี้ยน (คนไทยเรียก) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทมีลิ่มนิ้ว มีลักษณะ
ผสมผสานระหว่างหีบเพลงชัก (แอกคอร์เดียน) กับหีบเพลงปาก (ฮาร์โมนิกา) ทำงานโดยเป่าลมผ่าน
ท่อ โดยตัวท่อนั้นจะอยู่บริเวณด้านข้างของตัวเมโลดิกา วิธีการทำให้เกิดเสียงก็คือเป่าลมและกด
คีย์บอร์ดไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นการทำให้เกิดเสียงเมโลดีกาออกแบบโดยบริษัท Hohner ซึ่งเป็นบริษัท
ขายเครื่องดนตรี ผู้ผลิตหีบเพลงชัก และฮาร์โมนิกาที่มีชื่อเสียง ในช่วงทศวรรษ 1950 เขาเป็นที่นิยม
ในการศึกษาดนตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียเมโลดิกา หรือ เมโลเดี้ยน ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะ
เครื่องดนตรีอย่างจริงจังในปี 1960 โดยคีตกวีเซ่นสตีฟรีคในชิ้นของเขาที่ชื่อ Melodica (1966) และ
นักดนตรีแจ๊สฟิลมัวร์จูเนียร์ 1969
วงเมโลเดียน  ประกอบด้วยเมโลเดียน ทั้งหมด 4 ชนิด คือ
    เมโลเดี้ยนเสียงโซปราโน Soprano เป็นเมโลเดี้ยนในระดับเสียงสูง
  เมโลเดี้ยนเสียงอัลโต Alto เป็นเมโลเดี้ยนในระดับเสียงกลาง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมี
จำนวนคีย์ อยู่ที่ 25 , 27 และ 32 คีย์ (วิธีดูว่า เมโลเดี้ยนตัวนั้น มีจำนวนกี่คีย์ ให้นับ
จำนวนคีย์กด ทั้งตัวขาวและตัวดำทั้งหมด ตัวเลขที่รวมได้ ก็หมายถึงจำนวนคีย์ของ
เมโลเดี้ยนตัวนั้นๆ)
  เมโลเดี้ยนเสียงเทนเนอร์ Tenor เป็นเมโลเดี้ยนในระดับเสียงต่ำ
  เมโลเดี้ยนเสียงเบส Bass เป็นเมโลเดี้ยนในระดับเสียงต่ าสุด
  เมโลเดี้ยนเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ลมเป่า เข้าไปในตัวเครื่อง พร้อมกับการกดคีย์เพื่อให้เกิด
เสียง หน้าตาของคีย์กด ก็เหมือนกับคีย์กดของเปียโน คือมีทั้งคีย์กด ตัวขาว และตัวดำ เพียงแต่จำนวน คีย์จะน้อยและสั้นกว่า การเกิดเสียงของเมโลเดี้ยน นั้น จุดสำคัญจะอยู่ที่ลิ้นเสียง ลิ้นเสียง ซึ่งเป็นโลหะ ชิ้นเล็ก ขนาดต่างๆ กัน ซึ่งอยู่ภายใต้คีย์กดแต่ละตัวของเมโลเดี้ยน หากจะเปรียบเทียบคุณภาพเสียง ของเมโลเดี้ยนแต่ละตัว และอัตราในการใช้ลม ที่มากหรือน้อยนั้น หรือจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่ากิน ลมในการเป่ามากหรือน้อย จึงควรที่จะพิจารณาในส่วนของคุณภาพของลิ้นเสียง อย่างเลี่ยงไม่ได้ เมโลเดี้ยน เป็นเครื่องดนตรีที่อาจจะมีอาการเสียขึ้นได้ อาการคือเป่าแล้วเสียงไม่ออก หรือเสียงที่ออกมาไม่ปกติเหมือนที่เคยเป็น จริงแล้ว อาการเสียข้างต้นสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องมาจากวัสดุ ที่ใช้ทำลิ้นเสียง ที่อยู่ภายในตัวเมโลเดี้ยน ซึ่งเป็น แผ่นเหล็กขนาดเล็ก เมื่อเวลาเราเป่าเมโลเดี้ยน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะมีน้ำลาย ค้างอยู่ในตัวเครื่องทำให้เกิดสนิมขึ้น ถึงแม้เมโลเดี้ยน หลายๆยี่ห้อ จะมีปุ่มกดสำหรับไล่ น้ าลายที่ค้างในตัวเครื่อง หลังจากเล่นเสร็จ อาจเกิดจากการหลงลืม หรือไม่เอาใจใส่ในบางครั้ง เมื่อ น้ำลายไปเกาะติดอยู่กับแผ่นลิ้นโลหะ นานเข้า ก็อาจจะเป็นสนิมและเปราะหักในที่สุด ผลก็คือ เป่า แล้วเสียงไม่ออกแต่จะไม่เกิดปัญหานี้หากเลือกเมโลเดียนที่ทำลิ้นจากทองเหลือง(ยี่ห้อ wisdom ราคา 520 บาท)
  วงเมโลเดี้ยน หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีเมโลเดี้ยนชนิดต่างๆ (เสียงโซปราโน เสียงอัลโต เสียงเทนเนอร์ และเสียงเบส) บรรเลงผสมรวมกับเครื่องกระทบ (Percussion) ประเภท Bass Drums, Snare Drums, Tri, Quad-Tom, Marching Bell, Cymbals โดยไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกระทบขอบสนาม (Pit Percussion) ทุกชนิด

  ลักษณะของวงเมโลเดียน วิธีดูว่าเมโลเดี้ยนตัวนั้นมีจำนวนกี่คีย์ ทำได้โดยการนับจำนวนคีย์กดทั้งคีย์สีขาวและสีดำ ตัว เลขที่รวมกันได้ก็หมายถึงจำนวนคีย์ของเมโลเดี้ยนตัวนั้นๆ

วงเมโลเดียนประกอบด้วย
2.1 คทากร 1 คน
2.2 จำนวนผู้บรรเลง ไม่น้อยกว่า 40 คน 
2.3 กลุ่มของเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

2.3.1 เมโลเดียน (Melodian) เป็นเครื่องดนตรีประเภทวงเมโลเดียน ขนาดต่าง ๆ เช่น โซปราอัลโตเทเนอร์ เบส นำมาจัดผสมวงตามความเหมาะสม ตามหลักการทฤษฎีดนตรีสากล 

2.3.2 เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ (Percussion) ในวงเมโลเดียน ตัวอย่างเช่น เครื่องที่ใช้บรรเลง ประกอบการเดินสนาม คือ กลองเล็ก (Snare Drum), กลองใหญ่ (Bass Drum), ฉาบ (Cymbals), มาร์ชชิ่งเบลล์ (Marching Bell), กลองชุดขนาดต่าง ๆ (Tim Toms) เครื่องดนตรี มาร์ชชิ่ง ไซโลโฟน (marching Xylophone) เครื่องดนตรีบรรเลงขอบสนามผู้บรรเลงไม่เกิน 5 คน (ห้ามใช้กลองคอนเสิร์ท และกลองทิมปานี) 

2.3.3 อุปกรณ์ประกอบการแสดงในวงเมโลเดียน  ตัวอย่างเช่น ธง , ร่ม , พัด , ริบบิ้นหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
การเล่นในวงเมโลเดี้ยน
  วิธีการจับเมโลเดี้ยน ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ท่าทางการจับเมโลเดี้ยนไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับความเหมาะสมของลักษณะเครื่องดนตรีและเทคนิคต่าง ๆในการเดิน ท่าทางการจับเครื่องดนตรี เมโลเดี้ยนไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใด ควรจะเป็นท่าที่จับแล้วรู้สึกสบายและมีความคล่องตัว ทั้งการเดิน พาเหรด (Maching) และการแสดงดนตรีภาคสนาม (Display) ท่าทางของการจับเมโลเดี้ยนที่นิยม สามารถแบ่งได้ ดังนี้
1) ท่ายืนตรง ในวงเมโลเดียน 
2) ท่าพักแถว ในวงเมโลเดียน 
3) ท่าเดินพาเหรด (Maching Parade and Display) 
4) ท่าเดินที่ไม่มีการบรรเลง 
5) ท่าเดินที่มีการบรรเลงวงเมโลเดียน 
แสดง 1-3 จาก 3 รายการ