ไมค์สาย ไมค์ลอย
ไมโครโฟน Microphone
ไมโครโฟนคืออุปกรณ์รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเมื่อมีเสียงกระทบก็จะเกิดการสั่นสะเทือนทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ไมโครโฟนโดยทั่วไปแล้วที่ใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-แบบไดนามิก
-แบบคอนแดนเซอร์
บุคลที่ขอ้งเกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟนกับการประกอบอาชีพย่อมมีความจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ให้มากที่สุดเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในอาชีพ ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่พิธีกร บางครั้งบางงานถ้าไมโครโฟนมีปัญหาก็ตอ้งตรวจเช็คก่อนการใช้งานกันเล็กน้อย
ดังนั้นเทคนิคการใช้ไมโครโฟนจึงเป็นทักษะพื้นฐานของพิธีกร
-ควรตรวจสอบไมโครโฟนก่อนการใช้งานเสมอทั้งเรื่องเสียง และระยะการใช้งานของไมโครโฟนรุ่นนั้นๆ ต้องสังเกตุตำแหน่งการปิดเปิด และควรทำความรู้จักกับขาตั้งของไมโครโฟนด้วยว่ารุ่นไหนใช้แบบไหนเพื่อจะได้ใช้ให้ถูกตอ้งตามสถาณการณ์
-ไม่ควรใช้คำว่าฮัลโหล ๆ หรือเคาะ หรือเป่าเพื่อทดสอบเสียงไมโครโฟน เพราะอาจทำให้ตัวรับสัญญาณเสียงไมโครโฟนเสียได้และอาจทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ร่วมงานด้วย ควรใช้คำว่าสวัสดีครับ สวัสดีค่ะมากกว่า
-การพูกโดยการใช้ไมโครโฟนอยู่กับที่ผู้พูดไม่ควรหลุกหลิกควรตั้งใจและมั่นใจในการพูดของตัวเองเพื่อเสียงจะได้ออกมาสม่ำเสมอและน่าเชื่อถือ
-เมื่อพูดจบแล้วแต่ยังต้องอยู่บนเวทีก็ควรถือไมโครโฟนอยู่ระดับเอวเพราะจะดูไม่เสียบุคลิกภาพ
ชนิดของไมโครโฟนที่เหมาะกับแต่ละงาน
1.บูมไมโครโฟน Boom microphon คือไมโครโฟนที่มีคั่นยื่นออกไปแล้วมีไมโครโฟนอยู่ตรงปลาย มีเจ้าหน้าที่คอยหมุนคันยื่นไปใกล้นักแสดงเพื่อรับเสียง การใช้ไมดครโฟนประเภทนี้คือ
-ตอ้งรอให้บูมไมโครโฟนมาใกล้ตัวก่อนค่อยพูด
-ควรเคลื่อนไหงช้าๆในการแสดงเพื่อรอเจ้าหน้าที่เคลื่อนไมโครโฟนมาใก้ล
2.ไมโครโฟนมือถือ Hand Microphone ควรมีข้อระวังดังนี้
-ผู้ใช้ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความไวในการรับเสียงของไมโครโฟนแบบมือถือรุ่นนั้นๆเพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและการจัดเก็บที่เหมาะสม
-การถือไมโครโฟนแล้วเดินพูดควรเช็คความยาวของสายไมโครโฟนด้วยว่าใช้ได้ไกลแค่ไหน
-การใช้ไมโครโฟนถือในหอ้งส่งไม่ควรชิดขอบปากมากเพราะมีช่างเทคนิคคอยปรับแต่งเสียงให้อยู่แล้ว
-การใช้ไมโครโฟนถือสัมภาษณ์บุคคลควรระมัดระวังระยะห่างให้ดีเพื่อความปลอดภัยและเหมาะสมใการใช้งาน
3.ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ Desk Microphone ส่วนใหญ่ผู้ติดตั้งจะวัดระดับเสียงใว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้พูดควรระวังคือ
-ไม่ควรจับไมค์เคลื่อนจากที่ที่วางใว้
-ไม่ควรเผลอตัวเคาะโต๊ะในขณะที่มีไมค์ตั้งโต๊ะวางอยู่เพราะไมค์จะรับเสียงและก่อให้เกิดความรำคาญได้
4.ไมโครโฟนแบบยืน Stand microphone คือไมค์ที่มีขาตั้งสูงระดับตัวคนแล้วมีไมโครโฟนเสียบอยู่ตรงปลาย วิธีใช้ไมโครโฟนประเภทนี้คือ
-ไม่ควรจับขาตั้งไมคืเพราะจะทำให้เกิดเสียงขยับออกอากาศไปด้วย
-ควรปรับรดับขาตั้งไมค์ให้เรียบร้อยกอ่นการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพที่ดีของเสียง
5.ไมโครโฟนแบบห้อยคอ Lavallore Microphone มักเป็นไมโครโฟนตัวเล็กติดกับเสื้อเหมาะกับการใช้เฉพาะตัวควรทำความเข้าใจวิธีการใช้ดังนี้
-ควรเปิดสวิตการใช้งานทุกครั้ง
-ผู้ที่ไม่ชำนาญการใช้งานของไมค์ประเภทนี้ ควรให้ช่างติดตั้งและปรับระดับเสียงให้ก่อน
-เช็กความสั้น ยาวของสายไมค์ที่ห้อยอยู่ที่เสื้อให้พอเหมาะกับการใช้งาน
6.ไมโครโฟนไม่มีสายหรือเอฟ.เอ็
ม.ไมโครโฟน Wireless of FM.microphone เป็นไมโครโฟนที่ใช้สายอากาศสั้นๆเพื่อให้เกิดเสียงมีประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้ในคอนเสิร์ตและการเคลื่อนไหวแบบเร็ว